6 เคล็ดลับการออกแบบป้ายโฆษณา


6 เคล็ดลับการออกแบบป้ายโฆษณา

ทำยังไงดีนะ?! หากคุณได้รับงานจากลูกค้าโดยโจทย์คือ คุณต้องออกแบบป้ายสำหรับงานอีเว้นท์งานหนึ่ง โดยงานที่คุณออกแบบนั้น จะได้ขึ้นบิลบอร์ด รวมถึงป้ายขนาดเล็กๆ ทั่วเมือง สำหรับบางคนแค่คิดถึงสถานการณ์นั้น คุณก็เริ่มประหม่าแล้วเพราะไม่รู้จะเริ่มออกแบบงานยังไงดี ไม่ได้จบด้านการออกแบบมาด้วยสิ... วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับการออกแบบงานมาฝาก
ผู้อ่านทุกๆ ท่านค่ะ
ข้อแตกต่างสำคัญที่มีผลต่อการออกแบบคือ ขนาดและสัดส่วนชองงาน บางครั้งงานที่เราต้องออกแบบมีขนาดใหญ่กว่างานที่เราเคยทำ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสถานที่ติดตั้งงาน สีสันของชิ้นงาน รูปแบบตัวอักษร ค่าความแตกต่างของสีในงาน รวมถึงวัสดุที่ใช้ผลิตงาน ที่เราต้องคำนึงถึงอีกด้วย การตระหนักถึงเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ก่อนการออกแบบ จะช่วยให้คุณออกแบบงานที่ดีและเหมาะสมได้มากเลยทีเดียว


1. เริ่มต้นจาก ขนาดและสัดส่วน




หลายๆ ครั้งที่งานจะมีขนาดใหญ่กว่างานอื่นๆ ที่คุณเคยออกแบบมา ลองนึกตามนะคะ การออกแบบนามบัตรทั่วๆ ไปมีขนาด 9 x 5 ซม. ป้ายกองโจรริมถนนขนาด 80 x 200 ซม. หรือป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ที่มีขนาดตั้งแต่ 8 x 15 เมตรขึ้นไปขนาดและสัดส่วน ที่แตกต่างกันนี้เองเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ออกแบบ จะทำอย่างไรให้ สาระสำคัญ ที่อยู่บนป้ายสามารถมองเห็นและเข้าใจได้จากระยะไกล บ่อยครั้งที่คนอ่านมีเวลาแค่เพียง 2–3 วินาทีในการมอง ดังนั้น ทุกภาพและข้อความควรสั้น กระชับได้ใจความ ชัดเจน แต่ยังสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2. ทำเลที่ตั้ง ก็สำคัญ


การรู้ตำแหน่งและทำเลที่จะติดตั้งป้ายมีความสำคัญพอๆ กันกับที่ต้องรู้ว่าป้ายจะมีขนาดเท่าใด แม้ว่าเราจะยังไม่มีคำตอบเรื่องสถานที่อย่างชัดเจน แต่ก็อยากให้ผู้ออกแบบมีไอเดียเบื้องต้นว่า ป้ายที่ออกแบบนั้นจะไปอยู่บริเวณใดและมีลักษณะอย่างไร
ป้ายจะอยู่สูงขึ้นไปบนฟ้า เช่นป้ายบิลบอร์ดหรือไม่? หรืออยู่บนดินแบบป้ายทั่วไป? หรือเป็นการหุ้ม wrap รถ? เป็นงานoutdoor หรือ indoor? ตัวป้ายมีกรอบ (Border) หรือไม่ และกรอบนั้นหนาบางอย่างไร? โดยรายละเอียดเหล่านี้จะเป็นจุดบอกโทนสีของสภาพแวดล้อมพื้นหลัง ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการเลือกใช้โทนสีของป้ายให้ตัดกับสภาพแวดล้อมนั้นๆนอกจากนี้ สถานที่ติดตั้งยังเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ของป้ายโฆษณา โดยอาจมีกฎหมายข้อบังคับบางประการเกี่ยวกับประเภทข้อความหรือรูปภาพที่อนุญาตให้ขึ้นป้ายแตกต่างกันตามสถานที่ต่างๆ ดังนั้นผู้ออกแบบป้ายต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วยเช่นกัน


3.สีและรูปกราฟฟิค ช่วยได้เยอะ



การเลือกใช้สี มีความสำคัญอันดับต้นๆ ในการออกแบบป้ายในแต่ละงาน โดยต้องคำนึงถึงสองหลักใหญ่ๆ คือ แบรนด์(Identity) และ ความชัดเจนโดดเด่นบางครั้งสองสิ่งนี้อาจขัดแย้งกันเอง แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า กราฟฟิคและสีควรเป็นสีสด หลีกเลี่ยงสีอ่อนและโทนสีพาสเทลเลือกใช้สีที่มีการตัดกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างพื้นหลังและรูปหรือตัวอักษรในส่วนของรูปและกราฟฟิก ควรเลือกแบบใดแบบหนึ่งและทำให้มันโดดเด่นใหญ่ชัดเจน จำไว้ว่า งานออกแบบที่ดีสามารถดึงดูดความสนใจได้จากการมองเพียงไม่กี่วินาทีถึงจุดนี้ ลองเอาเรื่องการออกแบบสีสันและกราฟฟิคมารวมกับทำเลติดตั้งป้ายดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว สมมุติว่าป้ายบิลบอร์ดตั้งอยู่ท่ามกลางต้นไม้สีเขียวริมถนนใหญ่ หากพื้นหลังที่ออกแบบมามีสีเขียวหรือมีรูปต้นไม้อยู่ ป้ายๆ นี้จะโดดเด่นขึ้นมาได้ยังไง?ดังนั้นควรวางแผนการใช้สีและกราฟฟิกให้เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้งป้ายจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด



4.ฟอนต์ที่อ่านง่าย และ ใหญ่สะดุดตา


ถึงเวลาที่ต้องเลือกใช้ตัวอักษรในงาน ทำให้ ง่ายๆ เข้าไว้ ในที่นี้หมายถึง ควรเลือกใช้ ฟอนต์ที่อ่านง่าย (ยกเว้นโลโก้ของลูกค้า) ใช้ฟอนต์แบบ san-serif ที่มีความหนาพอสมควร ไม่บางเกินไปตัวอักษรต้องมีขนาดใหญ่ สะดุดตา ใช้สูตรง่ายๆ 10 ต่อ 100 คือ ที่ระยะการมองเห็นจากป้าย 100 ฟุต (30 เมตร) ให้ใช้ตัวอักษรสูง 10 นิ้ว (30 ซม.) และทุกๆ ระยะที่เพิ่มขึ้น 100 ฟุต (30 เมตร) ก็ให้เพิ่มขนาดตัวอักษรขึ้นทีละ 10 นิ้ว (30 ซม.)ทั้งนี้ เราควรคำนึงถึง จำนวนคำ (words) ต่อป้าย ด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ป้ายๆ หนึ่งไม่ควรมีเกิน 15 คำโดยทั่วไปจะใช้สูตร 3 ต่อ 5 ซึ่งอาจหมายถึง จำนวนคำต่อป้ายใน 2 รูปแบบได้แก่ มีข้อความ 3 บรรทัด บรรทัดละ 5 คำ หรือมีข้อความ 5 บรรทัด บรรทัดละ 3 คำนอกจากนี้ยังต้องระวังการใช้ตัวหนา (Bold) หรือตัวเอียง (Italics) ด้วย โดยตัวหนาจะช่วยให้สามารถมองเห็นได้ง่ายขึ้นจากระยะไกล แต่ต้องดูระยะห่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว อย่าให้ติดกันเกินไป ส่วนตัวเอียงควรหลีกเลี่ยงเพราะอ่านค่อนข้างยาก


5.เรื่องของ การเลือกใช้สี ก็มีผล


Contrast คือค่าระดับความแตกต่างของส่วนที่สว่างกับส่วนที่มืด ซึ่งมีความสำคัญต่อการออกแบบป้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เราต้องการดึงความสนใจจากคนอ่านให้ได้ภายในช่วงเสี้ยววินาทีจริงๆ แล้ว ไม่มีการกำหนดชุดสีที่ตัดกันแบบตายตัว แต่หลักๆ จะมีคู่สีที่โดดเด่นเมื่อนำมาใช้ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล อย่างเช่น ดำกับขาว ดำกับเหลือง นํ้าเงินกับขาว นํ้าเงินกับเหลือง เขียวกับขาว แดงกับขาวและ แดงกับเหลืองและถ้าหากต้องการเพิ่มความโดดเด่นหรือเพิ่มคอนทราสต์ให้กับตัวป้ายและสภาพแวดล้อมโดยรอบ แค่เพิ่มเส้นกรอบดำหรือเส้นกรอบขาวเข้าไปในส่วนของป้ายที่ต้องการดึงออกจากสภาพพื้นหลังหรือแวดล้อมอื่นๆ

6. คำนึงถึง วัสดุที่ใช้พิมพ์ และ วิธีการพิมพ์



อีกเรื่องนึงที่ควรเน้นคือ เรื่องของวัสดุที่ใช้พิมพ์และวิธีการพิมพ์ ซึ่งมีผลต่อการออกแบบทั้งหมดที่เราได้ทำมาแล้วข้างต้นวัสดุที่ใช้พิมพ์งานมักมีการจำแนกประเภทตามสถานที่ติดตั้งงานป้ายโฆษณา (เช่นวัสดุภายใน/ภายนอก) ความคงทน และ
ระบบการพิมพ์ งานที่พบเห็นและคุ้นเคยส่วนใหญ่จะเป็นงานพิมพ์ลงบนไวนิล, PVC, PP Board เป็นต้น ผู้ออกแบบควรถามข้อมูลก่อนการออกแบบ ขอข้อมูล spec วัสดุ ถามเกี่ยวกับประเภทของไฟล์ดูว่าเครื่องพิมพ์ที่ใช้พิมพ์ต้องมีการเตรียมงานในจุดใดเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกันกับเรื่องของการออกแบบในภายหลังจากรายละเอียดข้างต้น เป็นข้อสรุปอย่างคร่าวๆ ถึงไอเดียการออกแบบป้ายโฆษณา หากผู้อ่านมีข้อสงสัยหรือต้องการถามความคิดเห็นจากกูรูในวงการเพิ่มเติม TABDA ยินดีเป็นสื่อกลางหาคำตอบมาให้ค่ะ พบกับ Inkjet World ใหม่ในฉบับหน้า

Billion Plus ขอบคุณบทความดีๆจากนิตยาสาร Graphics&Sign Magazine by TABDA

ความคิดเห็น

  1. ขอขอบคุณสำหรับบทความ ตอนนี้ยังเลือกใช้สีไม่ค่อยเป็น




    ป้ายตู้ไฟ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อดี ข้อเสีย ของวัสดุที่ใช้ในงานพิมพ์ชนิดต่างๆ

เทคโนโลยีอิงค์เจ็ท

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก