เทคโนโลยีอิงค์เจ็ท


เทคโนโลยีอิงค์เจ็ท

เทคโนโลยีอิงค์เจ็ท ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ Continuous Inkjet (CIJ) และDrop On Demand (DOD)




Continuous Inkjet (CIJ) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ปั๊มแรงดันสูง พ่นหมึกอย่างต่อเนื่อง (stream) ผ่านรูพ่นหมึก (nozzle) ขนาดเล็ก โดยมี piezoelectric crystal อยู่ภายในสร้างคลื่นความถี่สูงที่ทำให้หมึกที่ผ่านมาแยกตัวออกเป็นหยดหมึกขนาดเท่าๆ กันอย่างต่อเนื่อง (ได้สูงถึงประมาณ 165,000 หยด ต่อวินาที) หยดหมึกจะวิ่งผ่านตัวชาร์จประจุไฟฟ้า ซึ่งจะทำการชาร์จประจุ (หรือไม่ชาร์จ) ให้กับหมึกพิมพ์ตามข้อมูล (1/0) ที่สั่งงานโดยคอมพิวเตอร์ควบคุม



หลังจากนั้น หมึกพิมพ์จะวิ่งผ่านสนามไฟฟ้าอีกชุดหนึ่ง ซึ่งจะทำการเบี่ยงเบนทิศทางของหยดหมึกที่ชาร์จและไม่ได้ชาร์จประจุให้แยกออกจากกัน หมึกพิมพ์ที่ไม่ถูกชาร์จประจุ จะวิ่งลงไปยังวัสดุ ส่วนหมึกพิมพ์ที่ถูกชาร์จประจุ จะวิ่งไปยังส่วนที่เก็บหมึกเพื่อนำกลับมาใช้ต่อไปจากจำนวนหยดหมึกที่สร้างได้จำนวนมากใน 1 วินาที ทำให้เทคโนโลยี CIJ นำมาใช้ในการพิมพ์ความเร็วสูง เช่นการพิมพ์ในระบบม้วนต่อเนื่อง การอุดตันของหัวพิมพ์เกิดขึ้นน้อยเนื่องจากจะมีหมึกพิมพ์จะวิ่งผ่านรูพ่นหมึกตลอดเวลา เปรียบเสมือนการล้างหัวพิมพ์ (Purge) แต่ไม่สิ้นเปลืองเพราะหมึกจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่แบบหมุนวนในตัว

Drop On Demand (DOD) เป็นเทคโนโลยีที่หัวพิมพ์จะพ่นหมึกเฉพาะส่วนที่ต้องการพิมพ์เท่านั้น หมึกทุกหยดที่พ่นออกมาจะตกลงสู่วัสดุพิมพ์
เทคโนโลยี DOD มีการพัฒนาใน 2 รูปแบบได้แก่

1. Thermal Inkjet

2. Piezo Inkjet

Thermal Inkjet หัวพิมพ์ระบบ Thermal Inkjet จะมี heating element เป็นส่วนประกอบสำคัญ เมื่อมีการจ่ายกระแสไฟให้กับ heating element จะทำให้เกิดแรงดันอากาศ (bubble) ขึ้นภายในหัวพิมพ์และดันหมึกออกมา จำนวนและความเร็วของหยดหมึกที่ออกมาจะขึ้นกับ ความถี่ในการจ่ายกระแสไฟ (firing frequency) ให้กับ heating element





Piezo Inkjet หัวพิมพ์ระบบ Piezo Inkjet จะมี piezoelectric เป็นส่วนประกอบสำคัญ เมื่อมีการจ่ายกระแสไฟให้กับ piezoelectric ที่ประกบอยู่กับ vibration plate จะทำให้เกิดการขยับตัว (vibrate) ขึ้นและดันหมึกออกมาจำนวนและความเร็วของหยดหมึกที่ออกมาจะขึ้นกับ ความถี่ในการจ่ายกระแสไฟ ให้กับ piezoelectric element



DOD เป็นเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในเครื่องพิมพ์ Wide Format เพราะราคาหัวพิมพ์ไม่สูงมากเท่ากับ หัวพิมพ์ CIJแต่ให้จำนวนหยดหมึกต่อวินาที่น้อยกว่า (ประมาณ 40,000 หยดต่อวินาที) รูพ่นหมึกมีโอกาสอุดตันได้มากกว่าหากไม่ได้มีการพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ต้องมีการพ่นหมึกทิ้งเพื่อทำความสะอาดหัวพิมพ์ (Purge) อย่างสมํ่าเสมอทำให้มีการสิ้นเปลืองหมึกมากกว่าในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีทั้งสองแบบมาทำการออกแบบหัวพิมพ์โดยผู้ผลิตหลายราย สำหรับการพิมพ์ในหลายรูปแบบ และใช้กับหมึกที่แตกต่างกันออกไป

Billion Plus ขอบคุณบทความดีๆจากนิตยาสาร Graphics&Sign Magazine by TABDA

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อดี ข้อเสีย ของวัสดุที่ใช้ในงานพิมพ์ชนิดต่างๆ

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก