ข้อดี ข้อเสีย ของวัสดุที่ใช้ในงานพิมพ์ชนิดต่างๆ
ข้อดี ข้อเสีย
ของวัสดุที่ใช้ในงานพิมพ์ชนิดต่างๆ
บทความ | Tips & Tricks
งานพิมพ์อิงค์เจ็ท เหมาะสำหรับงานที่จะต้อง ออกแบบให้มีรูปภาพหรือสีที่หลากหลาย
ไม่จำกัดรูปแบบของการออกแบบ
สามารถเล่น กราฟิกได้หลากหลาย สามารถผลิตได้ใน ระยะเวลาที่ไม่นาน พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่กี่ชั่วโมง
ก็ได้งานพิมพ์ออกมาแล้ว และยังมีอายุใน การใช้งานที่ยาวนานได้ประมาณ 6 - 18 เดือน ด้วยคุณสมบัติของหมึกที่ขึ้นอยู่กับ ประเภทหมึกของแต่ละเครื่องพิมพ์อีกด้วย
แต่...รู้หรือไม่ว่า งานพิมพ์อิงค์เจ็ทยัง สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุแผ่นเรียบได้อีก
หลากหลายชนิดแต่จะเป็นวัสดุอะไรบ้าง ไปดูกันเลยจ้า
>>>>>>>>>>>>>Billion Plus
>>>>>>>>>>>>>Canvas Print by Billion Plus
อะคริลิค
อะคริลิค เป็นแผ่นพลาสติก PMMA ที่มีเนื้อโปร่งแสง มีหลากหลายสีสัน และหลากหลายขนาดให้เลือกใช้
มักนิยมนำมาใช้แทนกระจก หรืองานตู้ไฟ เพราะอะคริลิคจะทนน้ำทนแดด และทนความร้อนได้ดีิ ความหนาที่มักนิยมใช้ตั้งแต่ 1 - 5 มิลลิเมตร ขนาดมาตรฐานอยู่ที่
120 x 240 เซนติเมตร
ข้อดี
1. เป็นที่นิยมและหาซื้อได้ง่าย
2. มีลักษณะโปร่งแสง หากแตกจะไม่มีสะเก็ดเหมือนกระจก
3. มีหลากหลายสีสันให้เลือก
4. เป็นแผ่นเรียบ เนียน
ข้อเสีย
1. ในการประกอบขึ้นรูป ต้องใช้ช่างและอุปกรณ์เฉพาะ ในการประกอบ
2. ในการเจาะ ตัด หรือไดคัท ต้องใช้เครื่องมือและ ช่างผู้เชี่ยวชาญ
หากทำด้วยตัวเองอาจเกิดความเสียหายได้
3. เนื้อเปราะ และแตกหักง่าย
4. มีราคาแพง
ฟิวเจอร์บอร์ด/พีพีบอร์ด
เป็นพลาสติกพีพีที่ถูกนำมารีดให้เป็นแผ่นหนา แต่ข้างในกลวง มีลักษณะเป็นลอนลูกฟูก
ด้านหน้าและด้านหลังเป็นแผ่นเรียบ มีน้ำหนักเบา ทนน้ำทนความร้อน ทนแดด และเหนียว มักนิยมใช้ตั้งแต่ความหนาที่ 1 - 5 มิลลิเมตร ขนาดมาตรฐานอยู่ที่
130 x 245 เซนติเมตร
ข้อดี
1. เนื้อเหนียวแต่กรีดหรือตัดด้วยคัทเตอร์ได้
2. พับหรือขึ้นรูปได้ง่าย นิยมนำไปทำเป็นกล่องหรือ ชิ้นงานที่สามารถพับเป็นรูปทรงต่างๆ ได้
3. น้ำหนักเบา และมีความทนทาน
4. มีหลายสีให้เลือก และราคาก็ไม่แพงด้วย
ข้อเสีย
1. มีเนื้อแข็ง และคม ต้องใช้ความระมัดระวังในเวลา ที่นำไปใช้งาน เพราะอาจจะเกิดการบาดเจ็บได้
2. พื้นผิวเป็นลอน หากใช้สติ๊กเกอร์ติดทับจะยังคงเห็น ลอนของผิววัสดุอยู่
3. แนวยาวตามลอนของวัสดุมีความไม่แข็งแรง อาจเกิด การพับ หรือหักได้ง่าย
ริจิท พีวีซี
เป็นแผ่นพีวีซีแข็ง บาง มักนิยมใช้กับงานป้ายแกงการู แบ็คดร๊อป และงานเคาท์เตอร์
ป๊อบอัพ มีสีดำสีขาว และใส มักนิยมใช้ความหนาอยู่ที่ 0.258 - 0.35 มิลลิเมตร
ข้อดี
1. สามารถกรีดหรือตัดได้ด้วยคัทเตอร์
2. เนื้อเหนียว ไม่ยับ ไม่หัก
3. สามารถม้วนเก็บได้เหมือนกระดาษแข็ง
4. มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ เนียน และราคาไม่แพง
ข้อเสีย
1. เวลาม้วนแผ่นหากเกิดการหักงอ จะทำให้เรียบเป็นปกติยาก
2. หากโดนความร้อนสูงจะทำให้บิดงอหรือเสียรูปทรงได้
โฟมบอร์ด
โฟมบอร์ดเป็นแผ่นโฟมอัดที่เคลือบผิวหน้าด้วยพีวีซีบางๆ มีน้ำหนักเบา และมีหลากหลายสีสันให้เลือก ความหนาที่มักนิยมใช้กันคือ 3 และ 5 มิลลิเมตร และขนาดมาตรฐานอยู่ที่
122 x 242 เซนติเมตร
ข้อดี
1. สามารถตัด หรือกรีดด้วยคัทเตอร์ได้
2. มีน้ำหนักเบา เหมาะกับการติดตั้งบนที่สูง
3. มีแผ่นที่เรียบเนียน และมีราคาถูก
ข้อเสีย
1. เนื้อนิ่ม ไม่แข็งแรง หากโดนขูด ขีด หรือโดนกดทับ อาจเป็นริ้วรอยได้ง่าย
2. เปราะหรือแตกหักได้ง่าย
3. ไม่ทนความร้อน
4. ไม่เหมาะกับงานประเภทเอาท์ดอร์
พลาสวูด
พลาสวูด เป็นผงพีวีซีผสมกาวอัดแน่น รีดเป็นแผ่นเรียบ มีความแข็งเหมือนไม้แต่ไม่มีเสี้ยน
ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับความหนาของผงพีวีซีที่ใช้ โดยพลาสวูดที่มีความหนาแน่นสูง สามารถนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์แทนไม้ได้เลย ความหนาที่นิยมนำไปใช้ในงานอิงค์เจ็ทตั้งแต่ 1 - 5 มิลลิเมตร และมีขนาดมาตรฐานอยู่ที่
122 x 242 เซนมิเมตร
ข้อดี
1. มีความแข็งแรง ทนแดด ทนฝน และทนน้ำได้ดี และไม่บวมอีกด้วย
2. ไม่มีเสี้ยน ไม่ล่อน เนื้อเหนียว
3. สามารถใช้แทนไม้ได้ และยังสามารถเจาะ ตัด หรือแขวนได้ง่าย
4. แผ่นพลาสวูดมีความเรียบ เนียน และสวย
5. แผ่นที่มีความบาง 2 มิลลิเมตร
สามารถใช้คัทเตอร์กรีด หรือตัดได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ผิวหน้าไม่แข็งเหมือนไม้ เมื่อโดนทับหรือโดนขูด อาจเป็นรอยได้ง่าย
2. แผ่นที่มีความบางอยู่ที่ 2 - 3 มิลลิเมตร หากโดน ความร้อนสูง อาจบิดงอ และเสียรูปทรงได้
3. มีน้ำหนักมาก และราคาแพง
กระดาษอาร์ตการ์ด
กระดาษอาร์ตการ์ด เป็นกระดาษแข็งหนาขาว 2 ด้าน มีลักษณะเนื้อที่แข็ง ความหนาที่นิยมใช้จะอยู่ที่
300 แกรมขึ้นไป มักนิยมใช้กับงานชิ้นเล็กๆ อย่าง ป้ายราคา การ์ด
Wobble และเต้นท์
ข้อดี
1. มีลักษณะแข็ง สามารถไดคัทเป็นรูปทรงได้ง่าย และสวย
2. เป็นแผ่นเรียบ เนียน และมีราคาไม่แพง
ข้อเสีย
1. แผ่นเล็ก ไม่สามารถใช้กับงานชิ้นใหญ่ๆ ได้
2. ไม่กันน้ำต้องใช้กับงานอินดอร์เท่านั้นหรือหักได้ง่าย
Billion Plus ขอบคุณบทความดีๆจากนิตยาสาร Graphics&Sign Magazine by TABDA
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น